Best Practice ผักสวนครัวปลอดสารพิษ

     “ผักสวนครัวปลอดสารพิษ เศรษฐกิจพอเพียง”
 ชื่อผลงาน  “ผักสวนครัวปลอดสารพิษ เศรษฐกิจพอเพียง”

v2


ชื่อผู้นำเสนอผลงาน
    นางกรรณิการ์   กำลังหาญ  
ครูชำนาญการพิเศษ
ที่อยู่ เลขที่ 8  หมู่ 4 โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)
แขวงลาดยาว  เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร    
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร  
โทร 02-5791941
 1. หลักการและเหตุผล
การเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย มีความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ และช่วยพัฒนาบุคลิกภาพสร้างบุคลิกภาพ สร้างเสริมเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยจะต้องมีวิธีการและกระบวนการที่เหมาะสม จัดให้เด็กได้รับการเรียนรู้และพัฒนาให้เจริญงอกงาม เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นได้ด้วยตนเองสามารถเชื่อมโยงความรู้และสร้างสรรค์เป็นองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างเต็มตามศักยภาพของเด็กความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างทั้งนี้
เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เด็กเติบโตมา ผู้สอน พ่อแม่ และผู้ปกครองของเด็กต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำความเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต้องยอมรับมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบและการพัฒนาการของเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
v3
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเด็กมีความพร้อมรอบด้าน
2.2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กผู้ปกครองและครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
2.3 เพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว
v5

3. แนวคิด/ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อการส่งเสริมต่อพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญามีความรู้คู่คุณธรรมดำรงชีวิตและร่วมกันอย่างมีความสุข
3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ของ จอห์นดิวอี้
จอห์นดิวอี้ เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ลงมือกระทำกับวัตถุโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสำรวจ เพื่อให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆผ่านประสบการณ์ตรง มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดหรือเหตุการณ์ จนกระทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3.2 ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (CONSTRUCTIVISM)
ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เด็กจะเกิดการเรียนรู้ในขณะทำงานกับเพื่อนในกลุ่มการปฏิสัมพันธ์ช่วยเหลือกันและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เด็กมีบทบาทเป็นผู้คิด ผู้ลงมือทำ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง
3.3 ทฤษฎีของทรงพร สุทธิธรรม
ทฤษฎีของทรงพร สุทธิธรรม กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียนในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านจะช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาการอย่างเหมาะสมเป็นทิศทางเดียวกัน
4. การดำเนินงาน/วิธีการปฏิบัติ มีขั้นตอน ดังนี้
4.1 ศึกษาพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัยในปีการศึกษาที่ผ่านมา
4.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ คุณลักษณะตามวัย และประสบการณ์สำคัญ
4.3 วางแผนสร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรม
5. ผลการปฏิบัติงาน
5.1 เด็กได้ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน มีความพร้อมรอบด้าน
5.2 เด็กผู้ปกครองและครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
5.3 เด็กและครูประกอบอาหารจากผักปลอดสารพิษ
5.4 ผู้ปกครองได้เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว
6. บทเรียนที่ได้รับ
6.1 เด็กมีพัฒนาการและความพร้อมรอบด้านเต็มศักยภาพ
6.2 เด็กเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงและผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
6.3 เด็กเกิดทักทะการสังเกต เปรียบเทียบสำรวจสืบค้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้
6.4 เด็กเกิดความสนใจ ตั้งใจเรียนรู้ อย่างมีความสุขและมีทักษะทางสังคม